วงปี่พาทย์
วงปี่พาทย์
วงดนตรีไทยประเภทหนึ่งซึ่งประกอบด้วยเครื่องเป่า คือ ปี่ ผสมกับเครื่องตี
ได้แก่ระนาดและฆ้องวงชนิดต่าง ๆ เป็นหลัก และยังมีเครื่องกำกับจังหวะ เช่น ฉิ่ง
ฉาบ กรับ โหม่ง ตะโพน กลองทัด กลองแขก และกลองสองหน้า ปี่พาทย์นี้บางสมัยเรียกว่า
"พิณพาทย์" วงปี่พาทย์อาจจำแนกประเภทแตกต่างกันไป แต่ที่พอจะรวบรวมได้
มีทั้งสิ้น 7 แบบ
1. วงปี่พาทย์ชาตรี
วงปี่พาทย์ชาตรี เป็นวงที่บรรเลงประกอบการแสดงโนรา หนังตะลุง
และละครชาตรีเครื่องดนตรีในวงบรรเลงประกอบด้วย
1.ปี่นอก, 2.โทน 1 คู่, 3.กลองชาตรี 1 คู่, 4.ฆ้องคู่ 1 ราง, 5.กรับ, 6.ฉิ่ง
http://pirun.ku.ac.th/~b5411100534/tm1.html
|
||
วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่
เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย 1. ปี่ใน, 2.ปี่นอก (ปัจจุบันไม่ค่อยได้ใช้),
3.ระนาดเอก, 4.ระนาดทุ้มไม้, 5.ระนาดเอกเหล็ก, 6.ระนาดทุ้มเหล็ก, ๗. ฆ้องวงใหญ่, 8.ฆ้องวงเล็ก, 9.ตะโพน, 10.กลองทัด, 11.ฉิ่ง, 12.ฉาบ, 13.โหม่ง |
3. วงปี่พาทย์ไม้นวม
https://tminstrument.files.wordpress.com/2012/03/pn_np.jpg
มีเครื่องดนตรีในวงบรรเลงและขนาดเหมือนวงปี่พาทย์ไม้แข็งทุกอย่าง แต่มีความแตกต่างกันที่
วงปี่พาทย์ไม้แข็งใช้ไม้ตีที่ทำด้วยเชือกแล้วชุบรักเวลาตีลงบนผืนระนาดแล้วเสียงจะกร้าวแกล้ง
แต่วงปี่พาทย์ไม้นวมจะใช้ไม้ระนาดที่พันด้วยผ้าและเชือก
ตีลงบนผืนระนาดแล้วมีเสียงนุ่มนวล และในวงปี่พาทย์ไม้นวมนี้ ใช้ขลุ่ยเพียงออ
แทนปี่ รวมทั้งใช้ซออู้เข้ามาผสมอยู่ในวงด้วย
การบรรเลงจะมีลักษณะแตกต่างกับวงปี่พาทย์ไม้แข็ง
โดยเฉพาะเสียงที่ใช้บรรเลงจะต่ำกว่าเสียงของวงปี่พาทย์ไม้แข็ง 1 เสียง
วงปี่พาทย์ไม้นวมเครื่องห้า เครื่องดนตรีในวงบรรเลงประกอบด้วย 1.ขลุ่ย, 2.ระนาดเอก, 3.ฆ้องวงใหญ่, 4.ซออู้, 5.ตะโพน, 6.กลองแขก, 7.ฉิ่ง
วงปี่พาทย์ไม้นวมเครื่องคู่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย 1.ขลุ่ย, 2.ระนาดเอก, 3.ระนาดทุ้มไม้, 4.ฆ้องวงใหญ่, 5.ฆ้องวงเล็ก, 6.ซออู้, 7.ตะโพน, 8.กลองแขก, 9.ฉิ่ง, 10.ฉาบ, 11.โหม่ง
วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย 1.ขลุ่ย, 2.ระนาดเอก, 3.ระนาดทุ้มไม้, 4.ฆ้องวงใหญ่, 5.ฆ้องวงเล็ก, 6ระนาดเอกเหล็ก, 7.ระนาดทุ้มเหล็ก, 8.ซออู้,9.ตะโพน, 10.กลองแขก, 11.ฉิ่ง, 12.ฉาบ, 13.โหม่ง
มีเครื่องดนตรีและขนาดของวงเหมือนวงปี่พาทย์ไม้แข็งทุกอย่าง
แต่นำตะโพน –
กลองทัดออกใช้กลองสองหน้าแทน
แต่โบราณใช้บรรเลงประกอบการขับเสภาที่เป็นเรื่องเป็นตอน
มีระเบียบของการบรรเลงโดยเริ่มจาก โหมโรงเสภา
และมีการขับร้องรับปี่พาทย์ด้วยเพลงพม่าห้าท่อน เพลงจระเข้หางยาว เพลงสี่บท
และเพลงบุหลัน เรียงลำดับกันไป ต่อจากนั้นจะเป็นเพลงอื่นใดก็ได้
วงปี่พาทย์เสภานี้เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2
วงปี่พาทย์เครื่องห้า
เครื่องดนตรีในวงบรรเลงประกอบด้วย 1.
ปี่ใน, 2.ระนาดเอก, 3.ฆ้องวงใหญ่, 4.กลองสองหน้า/กลองแขก, 5.ฉิ่ง
| |
วงปี่พาทย์เครื่องคู่
เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย 1. ปี่ใน, 2.ปี่นอก (ปัจจุบันไม่ค่อยได้ใช้),
3.ระนาดเอก, 4.ระนาดทุ้มไม้, 5.ฆ้องวงใหญ่, 6.ฆ้องวงเล็ก, 7. กลองสองหน้า / กลองแขก, วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย 1.ปี่ใน, 2.ปี่นอก (ปัจจุบันไม่ค่อยได้ใช้) 3.ระนาดเอก, 4.ระนาดทุ้มไม้, 5.ระนาดเอกเหล็ก, 6.ระนาดทุ้มเหล็ก, ๗. ฆ้องวงใหญ่, 8.ฆ้องวงเล็ก, 9.กลองสองหน้า / กลองแขก, 10.ฉิ่ง, 11.ฉาบ, 12.กรับ, 13.โหม่ง |
5. วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์
http://pirun.ku.ac.th/~b521110058/Templates/Peepart.html
วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์เป็นวงดนตรีที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงปรับปรุงขึ้นใหม่
โดยใช้เครื่องดนตรีที่มีเสียงทุ้มนุ่มนวม และไม่ใช้เครื่องดนตรีที่มีเสียงเล็กแหลม
เช่น นำเอาฆ้องวงเล็ก และระนาดเอกเหล็ก ออกไป ใช้ขลุ่ยเพียงออแทนปี่
และยังมีขลุ่ยอู้เพิ่มขึ้น 1 เลา ใช้กลองตะโพนแทนกลองทัด และเพิ่มซออู้
กรับพวงเข้ามาร่วมบรรเลงด้วย สัญลักษณ์ที่โดดเด่น
เห็นชัดเจนสำหรับเครื่องดนตรีอีกชนิดหนึ่ง ก็คือ ฆ้องหุ่ย 7 ใบ 7 เสียง
วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์นี้
ใช้สำหรับบรรเลงประกอบการแสดงละครดึกดำบรรพ์เท่านั้น
เครื่องดนตรีในวงบรรเลงประกอบด้วย 1.ระนาดเอก (ใช้ไม้นวม), 2. ระนาดทุ้มไม้, 3.ระนาดทุ้มเหล็ก
,4.ฆ้องวงใหญ่, 5.ขลุ่ยเพียงออ, 6.ขลุ่ยอู้, 7. ซออู้,8.ฆ้องหุ่ย 7 ใบ 7 เสียง, 9. ตะโพน, 10.กลองตะโพน, 11.กลองแขก, 12.ฉิ่ง,13.กรับพวง
เป็นวงดนตรีที่ใช้ในงานอวมงคล(งานศพ)
มีเครื่องดนตรีในวงเหมือนกับวงปี่พาทย์ไม้แข็งเพียงแต่เปลี่ยนมาใช้ปี่ชวาแทนปี่ใน
ใช้กลองมลายู 1 คู่ เข้ามาร่วมบรรเลงด้วย เครื่องดนตรีในวงบรรเลงแบ่งได้ 3 ขนาด
ดังนี้
วงปี่พาทย์นางหงส์เครื่องห้า
เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย 1.ปี่ชวา,2.ระนาดเอก, 3.ฆ้องวงใหญ่, 4.ฆ้องวงเล็ก, 5กลองมลายู, 6.ฉิ่ง
วงปี่พาทย์นางหงส์เครื่องคู่
เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย 1. ปี่ชวา2. ระนาดเอก 3 ระนาดทุ้ม 4. ฆ้องวงใหญ่ 5. ฆ้องวงเล็ก 6.กลองมลายู 7. ฉาบเล็ก 8. ฉิ่ง 9.โหม่ง 10.ฉาบใหญ่
|
|
วงปี่พาทย์นางหงส์เครื่องใหญ่
เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย1ปี่ชวา, 2.ระนาดเอก,3.ระนาดทุ้ม, 4.ระนาดเอกเหล็ก, 5.ระนาดทุ้มเหล็ก, 6.ฆ้องวงใหญ่, 7.ฆ้องวงเล็ก, 8.กลองมลายู, 9.ฉาบเล็ก, 10.ฉาบใหญ่, 11.ฉิ่ง, 12.โหม่ง,13.ฉาบใหญ่
|
7.
วงปี่พาทย์มอญ
http://pirun.ku.ac.th/~b521110058/Pic4web/clip_image001.jpg เป็นวงดนตรีที่ชาวมอญนำเครื่องดนตรีเข้ามา พร้อมกับการย้ายถิ่นฐานบ้านเรือน ต่อมาได้มีการพัฒนาเป็นวงปี่พาทย์มอญ โดยใช้หลักกของวงปี่พาทย์ไม้แข็งเป็นหลัก แต่ใช้เครื่องดนตรีของมอญตั้งอยู่ด้านหน้าของวง เช่น ฆ้องมอญ ปี่มอญ ตะโพนมอญ เปิงมางคอก ด้านหลังจะเป็นระนาดเอก ระนาดทุ้มดนตชิ้นอื่น ๆ ของวงปี่พาทย์(ไทย) เมื่อตั้งวงดนตรีแล้วจะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน
โอกาสที่ใช้ชาวมอญจะใช้บรรเลงทั้งงานมงคลและงานอวมงคล
สำหรับชาวไทยจะใช้บรรเลงเฉพาะงานวมงคลเท่านั้น เครื่องดนตรีในวงบรรเลงของวงปี่พาทย์ แบ่งเป็น 3 ขนาด ดังนี้
|
ปี่พาทย์มอญเครื่องห้า เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย 1. ฆ้องมอญวงใหญ่ 2. ระนาดเอก 3. มอญ 4 ตะโพนมอญ 5. เปิงมางคอก 6. ฉิ่ง
ปี่พาทย์มอญเครื่องคู่
เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย 1. ฆ้องมอญวงใหญ่ 2.ฆ้องมอญวงเล็ก
3. ระนาดเอก 4.ระนาดทุ้ม 5. ปี่มอญ6. ตะโพนมอญ 7. เปิงมางคอก 8. โหม่ง 3 ลูก 9.ฉิ่ง 10. ฉาบเล็ก 11.ฉาบใหญ่ 12.กรับ
ปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่
เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย 1.ฆ้องมอญวงใหญ่, 2.ฆ้องมอญวงเล็ก, 3.ระนาดเอก, 4.ระนาดทุ้มไม้, 5.ระนาดเอกเหล็ก, 6.ระนาดทุ้มเหล็ก, 7.ปี่มอญ,8.ตะโพนมอญ,
9. เปิงมางคอก, 10.โหม่ง 3 ลูก, 11.ฉิ่ง, 12.ฉาบเล็ก, 13.ฉาบใหญ่, 14.กรับ |
อ้างอิง:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C